หน้าแรก -> พระเครื่อง วัตถุมงคล -> พระสมเด็จ ญสส. -> สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม และ บรมพุทโธโพธิสัตว์ -> องค์ประกอบ และความหมาย

 

พระสมเด็จ ญสส. สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม (สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม) ด้านหน้าพระสมเด็จ ญสส. บรมพุทโธโพธิสัตว์ (สมเด็จพระบรมพุทโธโพธิสัตว์) ด้านหน้า

ภาพถ่าย : ด้ายหน้า พระเครื่องวัตถุมงคล พระสมเด็จ ญสส. “สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม” (“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม”) และพระเครื่องวัตถุมงคล พระสมเด็จ ญสส. “บรมพุทโธโพธิสัตว์” (“สมเด็จพระบรมพุทโธโพธิสัตว์”

องค์ประกอบด้านหน้า

 

พระสมเด็จ ญสส. สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม (สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม) ด้านหลังพระสมเด็จ ญสส. บรมพุทโธโพธิสัตว์ (สมเด็จพระบรมพุทโธโพธิสัตว์) ด้านหน้า

ภาพถ่าย : ด้านหลัง พระเครื่องวัตถุมงคล พระสมเด็จ ญสส. “สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม” (“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม”) และพระเครื่องวัตถุมงคล พระสมเด็จ ญสส. “บรมพุทโธโพธิสัตว์” (“สมเด็จพระบรมพุทโธโพธิสัตว์” ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน

องค์ประกอบด้านหลัง

ความหมาย พระเครื่องวัตถุมงคล

พระสมเด็จ ญสส. “สัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม” (“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม”)

และ “บรมพุทโธโพธิสัตว์” (“สมเด็จพระบรมพุทโธโพธิสัตว์”)

พุทธพิมพ์ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ “พระสมเด็จหลวงปู่ทวด”

ความหมายด้านหน้า

"สมเด็จองค์ปฐม"

สมเด็จองค์ปฐม     สมเด็จองค์ปฐม

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


ภาพถ่าย : ปาฏิหาริย์สมเด็จองค์ปฐม ที่ถ้ำวังทอง จ.พัทลุง

หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม สิกขีที่ ๑ สมเด็จองค์ปฐม ท่านเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพุทธสิกขี เนื่องจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วมากมายนับได้แสนองค์ ฉะนั้น พระนามของแต่ละพระองค์อาจซ้ำกัน โดยเฉพาะพระนาม สมเด็จพระพุทธสิกขี มีด้วยกัน ๕ พระองค์ จึงได้ขานพระนามของสมเด็จองค์ปฐมว่า พระพุทธสิกขีที่ ๑ จึงนับได้ว่าพระพุทธองค์ ทรงเป็นสมเด็จองค์ปฐมบรมครูอย่างแท้จริง

สมัยที่พระพุทธองค์ ได้ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ซึ่งขณะนั้นคนมีอายุขัยประมาณ ๘ หมื่นปี พระพุทธองค์ทรงผนวชออกมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔ หมื่นปี หลังจากผนวชได้ ๒ หมื่นปี จึงทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์แรกของโลก พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์ ประมาณ ๒ หมื่นปี จึงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาอันยาวนานถึง ๔๐ อสงไขยกัปเศษ ในการบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เวลาอันยาวนาน ในการบำเพ็ญพระบารมี เนื่องจากพระพุทธองค์ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก จึงไม่มีแบบอย่าง ที่จะให้พระพุทธองค์ได้ศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ระยะเวลาที่บำเพ็ญพระบารมีจึงใช้ถึง ๔๐ อสงไขยกัปเศษ

จากหนังสือมรดกของพ่อ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี (พระนิพพาน ไมาใช่ภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียน แต่เป็นภาษาปฏิบัติ)

“สมเด็จองค์ปฐม” จึงหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ของโลก องค์แรกสุดของโลก ถ้าลองสมมติว่า มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาตรัสรู้ในโลกนี้ เป็นจำนวนเท่ากับ ๑๐๐,๐๐๐ พระองค์แล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม ย่อมเป็นองค์ที่ ๑ หรือเป็นองค์แรกสุด หรือเป็นองค์ปฐมแรกสุด ของทั้งจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ พระองค์ พระราชพรหมยาน หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ) อดีตเจ้าอาวาส วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นผู้นำมาเผยแผ่ให้ได้รู้จักกันในวงกว้างขวาง และยังได้กล่าวถึงพระนามของสมเด็จองค์ปฐม ของโลกมนุษย์ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม สิกขีที่ ๑

สมมติว่า ถ้าหากในทุกๆ มหาอนันตจักรวาลสากลพิภพ ยังมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น หรือมีพระรัตนตรัย และเหล่าพุทธบริษัท ๔ เกิดขึ้นเป็นจริงแล้วไซร้ คำว่า สมเด็จองค์ปฐม ก็ย่อมยังหมายถึง สมเด็จองค์ปฐมทุกๆ พระองค์ แห่งทุกๆ มหาอนันตจักรวาลสากลพิภพ แต่ถ้าหากไม่มีอยู่จริง ก็หมายถึงแต่สมเด็จองค์ปฐม แห่งโลกมนุษย์นี้เท่านั้น แต่มีคัมภีร์บางเล่มในพุทธศาสนามหายาน ได้กล่าวถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อยู่ไกลออกไปจากโลกมนุษย์ เป็นโลกธาตุที่มีชื่ออยู่หลายชื่อ



รูป “ธงมหาพิชัยสงคราม” บางส่วน ในวงกลมที่มีรูปภาพพระพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่บนแท่นบัลลังก์ ทั้ง ๒ ข้าง

หมายถึง รูปภาพสัญลักษณ์เหล่านี้ ได้ตัดตอนเอาเฉพาะบางส่วนมาจาก รูปภาพธงมหาพิชัยสงคราม ซึ่งได้มีความเชื่อกันว่า เป็นธงสำหรับนำทัพออกรบเพื่อกู้ชาติ ของพระนเรศวรมหาราช และของพระเจ้าตากสินมหาราช ในการทำศึกสงคราม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ แก่ทหารในกองทัพ จนสามารถกอบกู้ชาติได้สำเร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว



รูป “พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งบนแท่นบัลลังก์ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว รูปใบเสมา”

หมายถึง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ตัวแทน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์



“ประภามณฑล พระฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ”

หมายถึง รัศมีรอบศีรษะ หรือ กายของผู้ศักดิ์สิทธิ์ รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ

  1. ๑.นีลเขียวเหมือนดอกอัญชัน 

  2. ๒.ปีตเหลืองเหมือนหรดาลทอง 

  3. ๓.โลหิตแดงเหมือนแผ่นเงิน 

  4. ๔.โอทาตขาวเหมือนแผ่นเงิน 

  5. ๕.มัญเชฐสีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง หรือ หง่อนไก่ 

  6. ๖.ประภัสสรเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก 



“ฉัตร ๙ ชั้น ตั้งอยู่บนหางพญานาค ๒ ตน ทั้ง ๒ ข้าง”

หมายถึง ร่มที่ซ้อนกันเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่ ๓ - ๕ – ๗ - ๙ ชั้น เป็นเครื่องบูชาที่เป็นเกียรติยศอันสูงสุด ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์



รูป “หลวงปู่ทวด นั่งอยู่บนอาสนะบนแท่น ในซุ้มเรือนแก้วรูปใบเสมา”

 หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แห่งตัวแทนของพระสงฆ์ทั้งหมด ท่านเป็นพระสงฆ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มาจากแดนใต้ เมืองพัทลุง ท่านเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดพะโคะ มีบางท่านเชื่อกันว่า หลวงปู่ทวดเป็นพระโพธิสัตว์ที่กำลังสร้างบารมีให้เต็ม และจะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นองค์ต่อไปในอนาคต นับต่อจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม องค์ปัจจุบัน



“พญานาค ทั้ง ๒ ตน อยู่ฝั่งละด้าน”

หมายถึง เพื่อเป็นตัวแทนแห่งเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธา ได้อุทิศตนมารับใช้ มาประพฤติ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเป็นของคู่ แห่งพญานาคเพศผู้ และพญานาคเพศเมีย เพศตรงกันข้าม เพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ ให้ได้คงอยู่และได้พัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป



ชื่อ “พระพุทธโคดม”

หมายถึง เป็นชื่อพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้ ยังมีพระนามเฉพาะอีก คือ โคตรมะสักกะ (ศากยะ), สักยมุนี (ศากยมุนี), สักยสีห (ศากยสิงห์), สิทธัตถะ, สุทโธทนิ อาทิจจพันธุ์

พระองค์เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดม (โคตมพุทธ) เจริญในศากยสกุล พระนครอันเป็นถิ่นกำเนิด ชื่อ กบิลพัสดุ์ พระบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๗ ปี มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่า ยโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทรงทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยม้ากัณฑกะเป็นราชยาน มีนายฉันนะ เป็นสารถี บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แก่ปัญจวัคคีย์ พระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระอุปติสสะ (พระสารีบุตร) และพระโกลิตะ (พระมหาโมคคัลลานะ) พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานนท์ พระอัครสาวิกาทั้งสอง คือ พระภิกษุณีเขมา และ พระภิกษุณีอุบลวรรณา อัครอุปัฏฐากอุบาสก คือ จิตตคฤหบดี และ หัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐากยิกาอุบาสิกา คือ นันทมารดา (หมายถึง เวฬุกัณฏกีนันทมารดา) และ อุตตรา (หมายถึง ขุชชุตตรา) ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ (คือ ไม้อัสสัตถะ เป็นต้นโพธิ์) มีสาวกสันนิบาต (การประชุมพระสาวก) ครั้งใหญ่ ครั้งเดียว ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุม ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ และเป็นเอหิภิกขุ ทรงดำรงชนม์อยู่ภายในอายุขัย ๘๐ ปี ได้ช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้อย่างมากมาย ทั้งตั้งคบเพลิงธรรม ไว้ปลุกคนภายหลัง ให้เกิดมีปัญญาได้บรรลุธรรม ได้ตรัสรู้ต่อไป



ชื่อ หลวงปู่ทวด

หมายถึง เป็นชื่อของพระสงฆ์รูปหนึ่ง ชื่อจริงในสมัยเด็ก คือ ปู ฉายาทางพระคือ ราโม ธมฺมิโก คนทั่วไปเรียกว่า สามีราม เป็นพระในช่วงกลางสมัยอยุธยา อยู่แดนใต้ เมืองพัทลุง เป็นเจ้าอาวาสวัดพะโคะ ปัจจุบัน ถิ่นที่กำเนิดของท่านและวัดพะโคะ อยู่ในจังหวัดสงขลา ส่วนอีกวัด คือ วัดช้างให้ เป็นที่เก็บอัฐิของท่าน และมีพระอาจารย์ทิม และเหล่าสหธรรมิก ได้ร่วมกันสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านเมื่อปี พ..๒๔๙๗ จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก รวมถึงรุ่นต่อๆ มา



เอวังโหตุ”

หมายถึง เป็นการกล่าวยืนยัน ตามความปรารถนาของผู้ขอ ที่ได้กระทำการสร้างบุญบารมีไว้ดีแล้ว ถูกต้องดีแล้ว อย่างบริสุทธิ์ ชอบธรรม จงพลันสำเร็จเป็นจริง ตามเหตุและผล เป็นปัจจัยยืนยัน แห่งการกระทำนั้นๆ ที่ได้ทำกรรมเอาไว้สำเร็จแล้วด้วยดี ย่อมได้รับประโยชน์ และความสุข ซึ่งเป็นผลลัพธ์ ย่อมตรงตามเหตุอย่างเที่ยงตรง แห่งการกระทำกรรมนั้นๆ อย่างแน่นอน เอวังโหตุ จะเป็นคำกล่าวเมื่อมีการกระทำกรรมที่ดี เป็นบุญกุศล



รุ่น ๑” อยู่ในรูปใบโพธิ์

หมายถึง เป็นพระเครื่อง รุ่นที่ ๑ จะทำอะไรก็ตาม ที่สำคัญต้องเริ่มต้นให้ถูกต้อง ให้บริสุทธิ์ ให้ดี ให้เที่ยงตรง ให้มั่นคง การวางรากฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องคิดให้ถูกให้ดี ต้องพูดให้ถูกให้ดี ต้องทำให้ถูกให้ดี ถ้า ๑ ผิด ๒ ก็ย่อมผิด ๓ ก็ผิดตามกันมา



ใบโพธิ์”

หมายถึง ใบโพธิ์นี้มาจากต้นโพธิ์ จึงสมมติเปรีียบเสมือนเป็นใบโพธิ์ที่มาจากต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้

ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา ส่วนหน่อของต้นโพธิ์ตรัสรู้ต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์ เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารถนาของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เกิดขึ้นเป็นของคู่บุญบารมีโดยเฉพาะ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม



.. ๒๕๕๕อยู่ในรูปใบโพธิ์

หมายถึง พ.. ๒๕๕๕ เป็นปี พ.. ที่เริ่มออกแบบ อยู่ในรูปใบโพธิ์ หมายถึง พระพุทธศาสนาจะไปสิ้นสุด เมื่อหลังจาก พ.. ๕๐๐๐ ปี ไปแล้ว ตามที่พระอานนท์เถระ พุทธอุปัฏฐาก ได้กราบทูลขอต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม และพระพุทธองค์ก็ทรงพระอนุญาตแล้ว



รวย – สุข”

หมายถึง รวยด้วยและมีความสุขด้วย เมื่อมีสติปัญญา มีความรอบรู้ มีความสามารถ และยังได้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่เห็นแก่ตัว หาทรัพย์สมบัติมาได้โดยชอบธรรม ยิ่งหาได้มากเท่าไร ก็ยิ่งบริจาคช่วยเหลือ โดยไม่หวังผลตอบแทน แก่สาธารณะมากขึ้นเท่านั้น ส่วนตัวเองและครอบครัว ใช้จ่ายทรัพย์แบบพอเพียง เมื่อรู้จักพอ ก็เป็นคนรวย และเมื่อประพฤติปฏิบัติธรรม พร้อมกับการดำรงชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ก็ย่อมมีความสุข



นิพพานเป็นสุขยิ่ง”

หมายถึง เป็นคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิพพาน หมายถึง เย็น การสิ้นกิเลส หลุดจากกิเลส การดับกิเลส และกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท ภาวะที่จิตนั้นไม่ถูกทำให้เร่าร้อน เจ็บปวดอีกต่อไป ไม่ทุกข์ ดับทุกข์สนิท หยุดความอยาก หยุดการกระทำตามความอยาก หยุดเสวยผลของการกระทำตามความอยาก



ไม่ดูดรั้ง ไม่ผลักต้าน”

หมายถึง เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ เป็นธรรมชาติแห่งใจที่เป็นกลาง ที่สมดุล เป็นสภาวะธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องดีแล้ว เท่ากับ จิตหนึ่ง บันทึกชึนเชา ของครูบาฮวงโป (ตวนชิ) แห่งนิกายเซ็น และหลวงปู่ดุลย์ และท่านเป่ยลุ่ย

จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่ง ทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่ หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทีียบทั้งหมดทั้งสิ้น

 



ความหมายด้านหลัง



“พระรัตนตรัย ๓ กาล”

หมายถึง แก้ว ๓ ดวง สิ่งมีค่าและเคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นชื่อตัวแทนแห่งพระรัตนตรัย ทั้งในอดีต ทั้งในปัจจุบัน และทั้งในอนาคต



“นะ โม พุท ธา ยะ”

หมายถึง เป็นชื่อย่อแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากกุสันธะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมน์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม และที่จะมาตรัสรู้เป็นองค์ถัดไปในอนาคต คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอารย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรย) พระเจ้าห้าพระองค์ เรียกคาถา นะโมพุทธายะ ว่าคาถาพระเจ้าห้าพระองค์



“พระปัจเจกพุทธเจ้า”

หมายถึง พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งตรัสรู้ได้ลำพังตนเอง มิได้สั่งสอนผู้อื่น ไม่ได้ตั้งพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนผู้อื่นให้รู้ย่อมแทงตลอดอรรถรสนั้น ย่อมไม่แทงตลอดธรรมรส ได้บำเพ็ญบุญบารมีมาน้อยกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เมื่อตรัสรู้แล้วก็เหาะไปชุมนุมกันในป่าหิมพานต์ ที่เงื้อมนันทมูล เชิงภูเขาคันธมาทนกูฏ ต้องการให้เป็นชื่อแห่งตัวแทนของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์



“ยอดธงมหาพิชัยสงคราม ทั้ง ๒ ข้าง”

หมายถึง ยันต์เกราะเพชร ซึ่งมาจากบทพุทธคุณ มีอนุภาพครอบจักรวาล



“ตราสัญลักษณ์รูปวงกลม ตราธรรมจักร”

หมายถึง เครื่องหมายทางพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อ มี ๘ ซี่ หรือ ๑๒ ซี่ จักร คือ ธรรม วงล้อธรรม หรือ อาณาจักรธรรม หมายถึง เทศนากัณฑ์แรก ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ได้ทรงแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หมายถึง จักรโดยชอบ ไม่มีการฆ่าฟัน มีแต่ทำให้เชื่อ เลื่อมใส ทำให้ยินยอมสมัครใจที่จะทำตามจนเกิดความพ้นทุกข์ นับเนื่องเป็นสาวกของพระพุทธองค์ นี้เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนะ



“ตราสัญลักษณ์ รูปวงกลมของฐานที่ ๗ และ หยิน – หยาง”

หมายถึง ฐานที่ ๗ นั้น มีศูนย์ ๕ ศูนย์ คือ

  1. ๑.ศูนย์ด้านหน้าธาตุน้ำ 

  2. ๒.ศูนย์ด้านขวาธาตุดิน 

  3. ๓.ศูนย์ด้านหลังธาตุไฟ 

  4. ๔.ศูนย์ด้านซ้ายธาตุลม 

  5. ๕.ศูนย์กลางอากาศธาตุ 

แสดงที่ตั้งของดวงนิมิตจากฐานที่ ๗ (ยกจากฐานที่ ๖ สูงขึ้น ๒ นิ้ว) (ฐานที่ ๖ ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ)

เป็นวิชชาธรรมกาย ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า นำมาแนะนำสั่งสอนไว้ให้แก่พวกเราได้ปฏิบัติธรรมเื่พื่อรักษาสืบทอดกันต่อไป



“หยิน – หยาง”

หมายถึง เป็นสัญลักษณ์ของลัทธิเต๋า ของท่านเล๊าจื้อ เป็นธรรมชาติแห่งความสมดุล แม้ธรรมชาตินั้นๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งเล็ก หรือ ครั้งใหญ่ เป็นเวลาที่ไม่นานนัก หรือ เป็นเวลานานพอสมควร สุดท้าย ธรรมชาติวัตถุ สิ่งของ ที่สามารถเห็นได้ รับรู้ได้ จับต้องได้ สัมผัสได้ ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม เืพื่อรอเวลาการเปลี่ยนแปลงในครั้งต่อไป ตามกฏแห่งธรรมชาตินั้นๆ



“พระโพธิสัตว์”

หมายถึง ผู้ที่กำลังพยายามเื่พื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่รับสนองพระพุทธประสงค์ ในการรักษาพุทธศาสนาไว้ ในการช่วยเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ๓๐ ทัศ ให้เต็ม คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ต้องการเพื่อให้เป็นชื่อตัวแทนแห่งพระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์



“พระอริยะสงฆ์”

หมายถึง พระสงฆ์ ที่เป็นอริยะ ผู้บรรลุธรรมวิเศษ ผู้ที่เห็นธรรมะโดยประจักษ์จริงๆ ต้องการเพื่อให้เป็นชื่อตัวแทนแห่งพระอริยสงฆ์ทุกๆ พระองค์



“ตรา ญสส.”

หมายถึง เป็นตราสัญลักษณ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺโน) พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ ในราชวงศ์จักรี



“สมเด็จพระสังฆราช”

หมายถึง ตำแหน่งประมุขสงฆ์ ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก ต้องการเพื่อให้เป็นชื่อตัวแทน แห่งสมเด็จพระสังฆราชทุกๆ พระองค์



“อริยสัจ ๔ ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ

  1. ๑.ทุกข์ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 

  2. ๒.สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ 

  3. ๓.นิโรธความดับทุกข์ 

  4. ๔.มรรคข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า มีอยู่ตามธรรมชาติแล้วพระองค์เป็นเพียงผู้ตรัสรู้ แล้วนำมาบอกต่อเท่านั้น หลักธรรมบางข้อ หากมีผู้ปฏิบัติจริงเขาย่อมรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง แล้วนำไปบอกต่อคนอื่นๆ

มีเพียงอริยสัจ ๔ เท่านั้น ที่ไม่มีใครอื่นเคยรู้มาก่อน นอกจากพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทธเจ้า แปลว่า พระองค์ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง และอริยสัจ ๔ นี้ พระองค์ตรัสเรียกว่า สามุกกังสิกธรรม คือ ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เอง แล้วทรงยกมาแสดงเอง อริยสัจ ๔ นี้ เป็นธรรมที่นำพาให้ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน หรือ การดับกิเลสโดยสิ้นเชิง ดังนั้น อริยสัจ ๔ จึงเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างยิ่ง



“เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”

หมายถึง อย่าทรยศ อย่าบ่อนทำลาย อย่าขาย อย่าโกง อย่าชักศึกเข้าบ้าน อย่าทำความเสีียหาย อย่าทำความเดือดร้อน อย่าทำให้เสื่อมเสียตกต่ำ แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เวลาจะคิด จะพูด จะทำอะไรก็ตาม ให้เห็นแก่ความถูกต้อง ความบริสุทธิ์ชอบธรรม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่พวกพ้อง ให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือ ประโยชน์สาธารณะ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะ ๓ สถาบันหลักของประเทศไทย ที่เป็นเสมือนดั่งหัวใจ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ เป็นการสอนให้รู้จักบุญคุณ มีความกตัญญูกตเวที ในแผ่นดินเกิด ให้ที่พักอาศัย ทำมาหากิน จนออกลูกออกหลาน สอนให้มีความเคารพ เทิดทูน บูชาด้วยจิตใจ ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความศรัทธาและสอนให้ร่วมมือ ร่วมใจกัน ช่วยกันด้วยความสามัคคี หวงแหน ปกป้อง คุ้มครอง รักษา ดูแล ให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความมั่นคง สงบร่มเย็นผาสุข ได้เจริญรุ่งเรือง ทั้งทางโลกและทางธรรม สืบต่อไปจนตลอดสิ้นกาลนาน



“รู้แจ้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

หมายถึง สามัญญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง หรือ เรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ ๓ อย่าง สังขาร หมายถึง สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือ สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รูปธรรม คือ สิ่งที่มองเห็นได้ สัมผัสได้ เช่น คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ วัตถุ นามธรรม คือ สิ่งที่มองเห็นไม่ได้ สัมผัสไม่ได้ แต่รู้สึกได้ เช่น ความรัก ความชัง นินทา สรรเสริญ ความสุข ความทุกข์

  1. ๑.อนิจจังความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อยๆ 

  2. ๒.ทุกขังความเป็นทุกข์ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก อนิจจัง หมายถึง การคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ 

  3. ๓.อนัตตาความเป็นของไม่ใช่ตัวตน หมายถึง การที่สังขารและธรรมทั้งปวง เป็นของไม่ใช่ตัวตน หาตัวตนไม่ได้ เป็นเพียงการสมมติขึ้นเท่านั้น เมื่อแยกย่อยจนถึงที่สุด ก็เหลือแต่เพียงความว่างเปล่า ไม่มีตัว ไม่มีตน 



“วัดบวรนิเวศวิหาร”

หมายถึง เป็นชื่อของวัดหลวง พระอารามหลวง ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺโน) พระองค์ที่ ๑๙ องค์ปัจจุบัน ทรงเป็นเจ้าอาวาส และวัดนี้ ยังมีพระคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญมาก คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระไพรีพินาศ และยังมีพระกริ่งปวเรศ และ ฯลฯ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลาย ด้วยความเคารพ ศรัทธา



“บุญบารมีประเทศไทยเจริญธรรม”

หมายถึง แม้ในปัจจุบันนี้ พ.ศ. ๒๕๕๖ ยังมีผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก และได้รับผล คือ อานิสงส์ เป็นประโยชน์และความสุข จากการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดั่งคำกล่าวของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” ประเทศไทยย่อมสามารถดำรงความเป็นเอกราช และอธิปไตย ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ บริบูรณ์ อย่างมั่นคงถาวร ตราบที่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงตั้งใจกันปฏิบัติธรรม ยังคงสร้างบุญบารมี ยังคงทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง และชอบธรรม และยังมั่นคงในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ของพระบรมมหาศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยการยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมอยู่ตลอดเวลา

 


สารบัญ